mix-and-match-การผสมข้ามขั้วชุดเร็กกูเลเตอร์ต่างยี่ห้อ-มีข้อควรพิจารณาอะไรบ้างนะ
นักดำน้ำหลายคนสอบถามเข้ามาถึงการที่เห็นนักดำน้ำบางท่านใช้ชุด first stage กับ second stage ผสมยี่ห้อกัน เช่น first stage ยี่ห้อ A แต่ใช้ second stage ยี่ห้อ B แล้วมันใช้ด้วยกันได้ มันมีข้อควรระวังอะไรหรือไม่? ช่วงนี้จึงอยากเข้ามาตอบคำถามให้ชัดเจนมากขึ้น
ได้ หรือ ไม่ได้?
คำตอบง่ายๆ คือ "ได้" เพราะว่าถ้าเราเห็นนักดำน้ำบางท่านนำไปใช้งานระหว่างดำน้ำ และไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น คำตอบก็คือใช้ได้นั่นเอง เพราะ port ต่างๆนั้นเป็น universal fittings คือสามารถสลับสายใช้กันกับยี่ห้อใดๆก็ได้นั่นเอง ซึ่งสาย Low Pressure นั้นจะมีสองขนาดคือ UNF 3/8-24 ที่ใช้กันทั่วไปแล้ว UNF 1/2-20 ที่ใช้กันในบางรุ่นบางยี่ห้อ (เช่น Mares MR22) เท่านั้น ซึ่งต้องใช้สาย Hose หรือ Adaptor ที่ขนาดพอดีกันมาใช้ ถึงจะสามารถต่อเข้าด้วยกันได้ ซึ่งทำได้ทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็น Inflator Hose, Pressure guage ต่างๆ
ข้อพิจารณาข้อที่ 1: Mismatched pressure setting
แม้การจะผสมข้ามขั้วกันนั้นสามารถกระทำได้ แต่ก็ต้องมีการปรับจูนให้ทั้งสองฝ่ายทำงานกันได้อย่างเหมาะสม เพราะเมื่อชุดเร็กกูเลเตอร์ออกจากโรงงานแล้วนั้นจะมีการปรับตั้งการควบคุมแรงดันของ first stage (Intermediate Pressure) การจ่ายอากาศของ Second Stage (cracking effort) จะสัมพันธ์กันและทำงานได้อย่างที่มันควรจะเป็น การข้ามขั้วโดยไม่ปรับความดันให้เข้ากันนั้นอาจจะทำให้ประสิทธิภาพการจ่ายอากาศลดลง ต้องใช้แรงในการหายใจมากขึ้น หรือ second stage free flow อากาศออกมาเพราะไม่สามารถควบคุมแรงดันไว้ได้นั่นเอง ซึ่งการที่จะปรับจูนให้ทั้ง first stage และ second stage นั้นทำงานกันได้อย่างลงตัวต้องให้ช่างเทคนิคเป็นคนดีลเรื่องความดันทั้งสองฝ่ายให้พอดีกัน ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกรณีซื้อไปประกอบเอง (ถ้าให้เราประกอบให้ เราก็จะจูนให้เรียบร้อยก่อนไปใช้งาน)
ข้อพิจารณาข้อที่ 2: Mismatched performance
การข้ามขั้วเร็กกูเลเตอร์นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ pressure gauge ยี่ห้ออะไรก็ได้ แต่สำหรับการผสมชุด first และ second stage นั้น มีสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรกระทำ คือ การข้ามขั้วจาก environmentally sealed diaphragm first stage (หรือบางคนใช้ marketing term ว่า overbalanced) นั้น ไม่ควรไปจับคู่กับ unbalanced second stage เนื่องจากว่า intermediate pressure ของ first stage นั้นจะมีการเพิ่มแรงดันขึ้นเมื่อดำน้ำในที่ลึก ทำให้โอกาสที่ second stage นั้นจะ free flow ได้เมื่ออยู่ในน้ำ จึงต้องใช้ balanced second stage เพื่อรองรับความเปลี่ยนของแรงดันในที่ลึกตรงนี้ด้วย
ข้อพิจารณาข้อที่ 3: Costs, maintenance, and retained value
ขึ้นชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ดำน้ำนั้นต้องมีราคาแพงระยิบระยับ การข้ามขั้วไปยังรุ่นที่ถูกกว่าในบางครั้งจึงกลายเป็นตัวเลือกของนักดำน้ำหลายคน (อยากได้ second stage สวยๆ first stage ไม่เป็นไร ถ่ายรูปไม่เห็น) ซึ่งเป็นการเลือกที่ไม่ได้ผิดอะไร และไม่ต้องไปสนใจสายตาตัดสินของคนอื่น แต่การค้นคว้าข้อมูลหรือปรึกษาเรา Blue Culture Diving ส่วนมากจะพบว่าค่าใช้จ่ายนั้นบางทีไม่ได้แตกต่างกันอย่างเป็นนัยยะสำคัญ
ในส่วนค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็จะเปลี่ยนไปตามยี่ห้อนั้นๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายค่าซ่อมโดยรวมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก อาจจะเปลี่ยนแปลงหลักร้อย หรือช่างบางคนที่ไม่รับซ่อมบำรุงบางยี่ห้อ อาจจะทำให้การซ่อมบำรุงนั้นต้องหาช่างที่ทำได้หลายๆยี่ห้อก็เป็นได้ เช่นเราสามารถซ่อมบำรุงได้หลายยี่ห้อ สามารถทำได้ แต่ศูนย์บริการแท้ๆอาจจะมี surcharge สำหรับอุปกรณ์ส่วนที่เขาไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย ทำให้มีส่วนต่างตรงนี้ด้วย
สำหรับคนที่ชอบเปลี่ยน regulator บ่อยๆ อันเนื่องมาจากความเบื่อของเดิม ความอยากของใหม่ หรือเหตุผลแห่งความร่ำรวยใดๆนั้น การมีอุปกรณ์เป็นยี่ห้อเดียวกันทั้งชุด จะทำให้คนซื้อสนใจมากกว่าของผสมๆกันมา
สรุป
เร็กกูเลเตอร์ชุดหนึ่งสามารถผสมกันได้หลากหลายยี่ห้อ ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นหลัก สิ่งที่ต้องมองดูมากกว่าคือการดูแลรักษาของผู้ใช้งานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ตลอดเวลา และไม่ต้องแปลกใจหากชุดเกจกับชุดเร็กกูเลเตอร์จะยี่ห้อไม่ตรงกันกับของที่เหลือ เพราะ pressure guage จะเป็นสิ่งแรกๆที่เปลี่ยนเป็นยี่ห้อที่ถูกลงหน่อยเพื่อลดค่าใช้จ่าย ยังไงเสีย 90% ของ pressure guage ที่ขายกันอยู่ในตลาดก็ผลิตมาจากผู้ผลิตคนเดียวกันอยู่ดี
Comments